ในปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับการออกกำลังกายว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน และภาวะซึมเศร้าได้ มีการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้าที่พบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยเสริมการทำงานของ ความสามารถในการรู้คิด (Cognitive function) อีกทั้งยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) ได้อีกด้วย
มีการศึกษาของ Mayo Clinic study of aging ทำการศึกษาผู้สูงอายุจำนวน 280 รายที่มีภาวะการรู้คิดเสื่อมถอย (Mild cognitive impairment) พบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในช่วงวัยกลางคน (Moderate Intensity Mid-life exercise ช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Krell-Roesch, 2018) การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งที่ได้รับการแนะนำในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อ Alzeimer disease ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ความแข็งแรงของกระดูก ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า และช่วยเพิ่ม Cognitive function ในระยะยาวได้อีกด้วย
สำหรับรูปแบบของการออกกำลังกายมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น Aerobic exercise, Resistance training, Weight lifing balance และ Flexibility training ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบของการออกกำลังกายที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายชนิดใด หรือแบบใดที่ได้ผลดีที่สุด
ใบอนุญาตเลขที่: 10102004065
1819/2 ถ.สุขุมวิท ทางกลับรถใต้สะพานพระโขนง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
© Relax Mind Clinic. All Rights Reserved.
Powered by KPK Computer